ความแตกต่างระหว่างซิงเกิ้ลมอลต์สก๊อตช์วิสกี้กับเบลนเดดสก๊อตช์วิสกี้คืออะไร หรือ ระหว่างวิสกี้ (มี e) วิสกี้ (ไม่มี e) เบอร์เบิ้น วิสกี้เทนเนสซี และวิสกี้ไรย์?
หากอ้างอิงตามนิยามที่กว้างที่สุด วิสกี้คือเครื่องดื่มที่กลั่นจากการหมักข้าวมอลต์ มอลต์คือเมล็ดข้าวที่ถูกปล่อยให้แตกหน่อแล้วนำไปตากแห้ง โดยเฉพาะข้าวบาเลย์และข้าวไรย์ กรรมวิธีการเตรียมข้าวมอลต์นั้นเรียกว่า "malting".
คำว่าวิสกี้จะสะกดด้วยตัว e หรือไม่มีตัว e ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วขึ้นอยู่กับว่าผลิตจากที่ใด.
ในประเทศสกอตแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และอื่นๆ คำว่าวิสกี้จะสะกดโดยไม่มีตัว 'e' ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและไอร์แลนด์จะสะกดคำว่าวิสกี้โดยมีตัว 'e' มากกว่า
ความแตกต่างหลักระหว่างประเภทวิสกี้แต่ละประเภทอขึ้นอยู่กับปัจจัยสี่ประการด้วยกัน คือ ธัญพืชที่นำมาใช้ กรรมวิธีการผลิต สถานที่ผลิต และระยะเวลาการบ่ม
สก๊อตช์วิสกี้ต้องผลิตมาจากข้าวบาเลย์หรือธัญพืชที่บ่มหมักในถังโอ๊กที่มีปริมาณไม่เกิน 700 ลิตรและต้องบ่มไม่ต่ำกว่าสามปี วิสกี้หนึ่งเบลนด์หรือสองเบลนด์นั้นมีการผลิตอยู่ทั่วทุกมุมโลก แต่การจะเรียกวิสกี้เบลนด์นั้นว่าสก๊อตช์วิสกี้ได้ จะต้องผลิตในสกอตแลนด์เท่านั้น
คือ วิสกี้ที่ผลิตขึ้นจากโรงกลั่นเดี่ยวที่ใช้เพียงข้าวบาเลย์หมัก น้ำ และยีสต์ในการผลิต
ซิงเกิ้ลมอลต์วิสกี้แบบดั้งเดิมผลิตขึ้นในภูมิภาคห้าเขตด้วยกัน ได้แก่ โลว์แลนด์ ไฮย์แลนด์ สเปย์ไซด์ ไอร์แลนด์ และแคมเบลท์ทาวน์ ภูมิภาคที่แตกต่างกันจะมีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน อาทิเช่นรสผลไม้ ความสด กลิ่นมอลต์ และ กลิ่นบุหรี่แห้ง
คือ วิสกี้ที่ใช้ข้าวโพดหรือข้าวสาลี หรือทั้งสองอย่างเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
เบลนเดดสก๊อตช์วิสกี้ผลิตขึ้นจากการผสมซิงเกิ้ลมอลต์และซิงเกิ้ลเกรนวิสกี้ไว้ด้วยกัน ข้อดีของการผสมวิสกี้ทั้งสองชนิดไว้ด้วยกันช่วยรักษารสชาติและคุณภาพของวิสกี้ให้คงเดิมทุกครั้งที่ดื่ม
ในเบลนเดดสก๊อตช์วิสกี้ที่มีการบ่งบอกอายุ อายุดังกล่าวหมายถึงวิสกี้อายุน้อยที่สุดที่นำมาใช้ผสม
คือ วิสกี้ชนิดใดก็ได้ที่ผลิตในเอเชอร์ (สาธารณรัฐไอร์แลนด์) หรือในไอร์แลนด์เหนือ ไอริชวิสกี้แตกต่างจากสก๊อตช์วิสกี้ตรงที่สามารถใช้ธัญพืชหมักในสัดส่วนใดก็ได้ แต่จำเป็นต้องบ่มในถังไม้เป็นเวลาอย่างน้อยสามปีเช่นเดียวกับสก๊อตช์วิสกี้
วิสกี้ญี่ปุ่นมักจะมีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับสก๊อตช์วิสกี้ โดยวิสกี้ญี่ปุ่นเริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1920 แต่พึ่งวางจำหน่ายในวงกว้างนอกประเทศญี่ปุ่นเมื่อสิบปีที่แล้ว
เบอร์เบิ้นเป็นวิสกี้อเมริกันที่ทำจากธัญพืชหมักซึ่งมีส่วนผสมของข้าวโพดอย่างน้อย 51% กฎเกณฑ์ที่ระบุคุณลักษณะความเป็นเบอร์เบิ้นนั้นรัดกุมน้อยกว่าสก๊อตช์วิสกี้ แต่ต้องผลิตภายในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นจึงจะตรงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้
คือ เบอร์เบิ้นที่ผลิตขึ้นในรัฐใดรัฐหนึ่งของอเมริกัน ยกตัวอย่างเช่น รัฐเคนตัคกี้ โดยต้องมีอายุการบ่มอย่างน้อยสองปีและต้องไม่ใส่สารเติมแต่ง อาทิเช่น สารปรุงรส หรือ สี
เบลนเดดเบอร์เบิ้นสามารถผสมสุราหรือสารปรุงรสอื่นๆ ได้ แต่จะต้องมีสัดส่วนของเสตรจเบอร์เบิ้นอย่างน้อย 51%
มีเหมือนกับเบอร์เบิ้นทุกประการแต่แตกต่างจากเบอร์เบิ้นตรงที่มีการกรองกลิ่นถ่านหินออกหลังจากกระบวนการกลั่น
โดยทั่วไปวิสกี้ไรย์มักผลิตในทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิสกี้ไรย์จะต้องบ่มจากธัญพืชหมักที่มีส่วนประกอบของข้าวไรย์อย่างน้อย 51% กฎเกณฑ์การผลิตวิสกี้ไรย์แคนาดานั้นรัดกุมน้อยกว่าวิสกี้ไรย์อเมริกา และ อนุญาตมีส่วนประกอบของข้าวไรย์ได้น้อยกว่าครึ่ง วิสกี้แต่งรส
หากอธิบายโดยกว้างๆ แล้ว วิสกี้แต่งรส คือ วิสกี้ที่ใส่สารแต่งรสเพียงชนิดเดียวแต่ไม่เติมสารให้ความหวาน สารแต่งรสที่ได้รับความนิยม ได้แก่ น้ำผึ้ง เครื่องเทศ และ แอปเปิ้ล วิสกี้แต่งรสสามารถทำเองได้ หรือ ผลิตออกจำหน่ายเป็นรุ่นพิเศษของวิสกี้บางรุ่น
หากอธิบายโดยกว้างๆ แล้ว วิสกี้ลิเคียวร์ คือ วิสกี้แต่งรสที่เติมสารให้ความหวานลงไป ตามธรรมเนียมแล้วจะเสิร์ฟเป็นเครื่องดื่มหลังอาหาร วิสกี้ลิเคียวร์แบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ วิสกี้ที่มีส่วนผสมของครีม และวิสกี้ที่ไม่มีส่วนผสมของครีม
ความเป็นมาที่น่าหลงใหลของหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก
อ่านต่อ