การผลิตสก๊อตช์วิสกี้เป็นศาสตร์โบราณที่ได้รับการพัฒนาและขัดเกลาตามกาลเวลา จากอุตสาหกรรมในครัวเรือนสู่กรรมวิธีอันเที่ยงตรงในปัจจุบัน
มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อรสชาติและคุณลักษณะของวิสกี้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทของธัญพืชและยีสต์ที่ใช้ รูปร่างของหม้อกลั่นสุรา ชนิดของไม้ที่นำมาใช้ประกอบถังบ่มและระยะเวลาการบ่มหมัก
เป็นเหตุผลว่าทำไมสกอตแลนด์จึงสามารถสรรค์สร้างความหลากหลายในเครื่องดื่มประจำชาติได้ จากรสชาติเข้มข้นของหมู่เกาะชายฝั่งตะวันตก ไปสู่ความอ่อนโยนและนุ่มลิ้นฝั่งตะวันออก
กระบวนการดังต่อไปนี้คือพื้นฐานของการทำสก๊อตช์วิสกี้ที่แท้จริง
กระบวนการผลิตวิสกี้เริ่มจากธัญพืช ธัญพืชนั้นมีปริมาณแป้งสูงซึ่งต้องแปลงไปเป็นน้ำตาลละลายน้ำเพื่อทำเป็นแอลกอฮอล์ กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก หลังจากนั้นจึงเติมน้ำร้อนลงไปและรอให้ส่วนผสมอุ่นลงจนกระทั่งธัญพืชเริ่มแตกหน่อกระบวนการนี้เรียกว่า malting
II
ขั้นตอนการเจริญเติบโตจะถูกหยุดด้วยการนำธัญพืชเข้าเตาเผาเพื่อทำให้แห้ง ในบางครั้งจะใช้ควันจากถ่านหินเลนเพื่อช่วยทำให้ธัญพืชแห้งเร็วขึ้นและเสริมรสชาติเข้าไป หลังจากนั้นจึงนำธัญพืชไปบดในเครื่องโม่เพื่อให้สามารถผสมกับน้ำได้
III
เทน้ำร้อนลงไปบนธัญพืชบด เอาส่วนเฉพาะน้ำหวานร้อนๆไว้และปล่อยให้เย็นเพื่อสกัดน้ำตาลละลายน้ำออกมา จากนั้นจึงเติมยีสต์และเริ่มขั้นตอนการหมักเพื่อทำให้เป็นเบียร์
IV
เมื่อเป็นเบียร์แล้วจึงนำไปกลั่นสองรอบด้วยกันเพื่อลดปริมาณน้ำและเพิ่มความเข้มข้นของแอลกอฮอล์และรสชาติ ขั้นตอนการกลั่นประกอบด้วยการต้มเบียร์ในเครื่องกลั่น ซึ่งปกติแล้วทำจากทองแดง มีคำกล่าวไว้ว่า "การสนทนาระหว่างทองแดงและเบียร์นั้นคือการบันดาลรสชาติ"
ผลผลิตของกระบวนการกลั่นจะนำไปบรรจุไว้ในถังโอ๊คบ่มวิสกี้ที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษและบ่มให้วิสกี้มีอายุสามปีเป็นอย่างต่ำก่อนที่จะเรียกมันอย่างเป็นทางการได้ว่า สก๊อตช์วิสกี้
เรื่องราวที่น่าทึ่งของหนึ่งในเครื่องดื่มยอดนิยมของโลก
อ่านต่อ